วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องพ่นและการพ่นหมอกควัน


เครื่องพ่นสารเคมี
เครื่องพ่นสารเคมีทางสาธารณสุขที่นิยมใช้ในการป้องควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจำแนกออกได้เป็น ชนิด  ได้แก่

1.เครื่องพ่นเคมีชนิดอัดลม Hand compression sprayer 
เป็นเครื่องพ่นสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันควบคุมไข้มาลาเรีย  เมื่อทำการพ่นสารเคมีออกไปละอองสารเคมี Droplets    จะไปเกาะติดที่พื้นผิววัตถุที่ต้องการ และมีฤทธิ์ตกค้างระยะเวลาหนึ่ง หรือที่เรียกว่า การพ่นสารเคมีชนิดตกค้าง Residual spray )  เมื่อยุงก้นปล่องบินมาเกาะพักที่พื้นผิวทำให้สัมผัสสารเคมี ๆ จะเข้าไปในตัวยุง  และทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ระบบประสาทส่วนกลางของยุง  และตายในที่สุด  สารเคมีมีฤทธิ์ตกค้างนาน 6 เดือน  แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาสารเคมีให้มีฤทธิ์ตกค้างนาน 1 ปี

2. เครื่องพ่นหมอกควัน Fogging machine หรือ Thermal fog generator)
เป็นเครื่องพ่นที่ใช้ความร้อนทำให้น้ำยาเคมีแตกตัวเป็นละออง อุณหภูมิที่ใช้สูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสารตัวทำละลายที่มีจุดเดือด หรือจุดระเหิด Boiling point หรือ Evaporating point )  ซึ่งมักนิยมใช้สารตัวทำละลายที่มีอุณหภูมิสูง 100 องศาเซลเซียส  เพราะถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะมีผลในการทำลายคุณภาพของสารเคมีซึ่งมักจะมีความเข้มข้นต่ำ สารตัวทำละลายที่นิยมใช้ ได้แก่  น้ำมันดีเซล  เมื่อสารเคมีแตกตัวจะถูกแรงลมเป่าทำให้ฟุ้งกระจายในรูปหมอกควัน ขนาดเม็ดน้ำยาDroplets )มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10- 60 ไมครอน micron )
            เครื่องพ่นหมอกควันจะใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงในการทำงานของเครื่อง  ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่ 1.4 - 2 ลิตร  อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1.5 – 2 ลิตร / ชั่วโมง  กำลังทำงานเครื่องพ่น 24-25 แรงม้าหรือ15,000 -16,100 กิโลแคลอรี่ / ชั่วโมง  การจุดระเบิดใช้พลังงานจากถ่านไฟฉาย ขนาด 1.5 โวลท์ จำนวน 4 ก้อน ต่อแบบอนุกรม และมีคอยล์จุดระเบิดสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ อัตราการไหลของน้ำยา ตั้งแต่ 8 - 30 ลิตร/ชั่วโมงแล้วแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวพ่น  ถังใส่น้ำยาเคมีมีทั้งชนิดที่เป็นโลหะ และพลาสติค  มีความจุ ตั้งแต่ 5 - 6.5 ลิตร  น้ำหนักเครื่องพ่นเปล่า 7- 8 กิโลกรัม  หากรวมน้ำหนักน้ำยาเคมีจะมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม 

ชนิดเครื่องพ่นหมอกควัน Fogging ) ปัจจุบันเครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้ในงานสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
               1. เครื่องพ่นหมอกควันชนิดสะพายไหล่  อาทิเช่น
                        1.1 เครื่องพ่นหมอกควันสวิงฟ็อก (Swingfog) รุ่น SN -11 SN -50 และ SN -50 N
                        1.2 เครื่องพ่นหมอกควันพัลฟ็อก Pulpfog ) รุ่น KP-10 SP
                        1.3 เครื่องพ่นหมอกควันไอจีบ้า Igeba ) รุ่น TF -30 และ TF- 35
                        1.4 เครื่องพ่นหมอกควันซุปเปอร์ฮอค Superhawk )
                        1.5 เครื่องพ่นหมอกควัน เอส เอส ฟ็อก SS fog )
                        1.6 เครื่องพ่นหมอกควันโกลเด็นฟ็อก Goldenfog )
2. เครื่องพ่นหมอควันชนิดติดตั้งบนรถยนต์  อาทิเช่น
                        2.1 เครื่องพ่นหมอกควันสวิงฟ็อก รุ่น SN-101
                        2.2 เครื่องพ่นหมอกควันพัลฟ็อก รุ่น K-22 /10 BIO
                         2.3 เครื่องพ่นหมอกควัน IZ 400 Auto )

การเตรียมความพร้อมในการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควัน
  1. ตรวจสอบหัวเทียนว่ามีไฟหรือไม่  โดยวิธีถอดหัวเทียนออกมาจากเครื่อง  แล้วเสียบปลั๊กหัวเทียนแตะกับบริเวณที่เป็นโลหะ  กดปุ่มสตาร์ท กรณีที่เป็นเครื่องพ่นสวิงฟอกซ์  สำหรับเครื่องพ่นพัลส์ฟอกซ์ หรือเครื่องพ่นไอจีบา  ให้สูบลมกระบอกสูบ  จะทำให้มีกระไฟวิ่งผ่านหัวเทียน  หากไม่มีกระแสไฟวิ่งผ่าน  หรือกระแสไฟไม่แรงให้ทำความสะอาดเขี้ยวหัวเทียน แต่หากพบว่าไม่มีกระแสไฟให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ปกติเขี้ยวหัวเทียนจะห่างประมาณ 2 มิลลิเมตร หรือเท่ากับความหนาของเหรียญบาท
  2. ตรวจสอบว่ามีถ่านไฟฉายในรังถ่านหรือไม่   และถ่านมีไฟหรือไม่
  3. ใส่น้ำมันเชื้อเพลิงในถังน้ำมันให้มีช่องว่างพอประมาณ หรือ 3 / 4 ของถัง เพื่อให้มีอากาศสำหรับระบบการไหลเวียนน้ำมันเชื้อเพลิง  ส่วนใหญ่เครื่องพ่นหมอกควันจะใช้น้ำมันเบนซิน 91 และหากน้ำมันเบนซินค้างอยู่ในเครื่องพ่นนานหลายเดือน ควรเททิ้ง  เนื่องจากค่าอ๊อกเทนของน้ำมันจะเหลือน้อย   ทำให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด
  4. ตรวจสอบว่าหัวพ่นอุดตันหรือไม่
  5. ตรวจสอบแผ่นไดอะแฟรมว่าอยู่ในสภาพดีหรือชำรุด  หากชำรุดควรเปลี่ยนใหม่  ไม่ควรใช้วัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน  เนื่องจากวัสดุนั้นจะไม่สามารถทนความร้อนได้  จะทำให้เกิดการละลายเมื่อเครื่องพ่นทำงานไปได้สักพักหนึ่ง
  6. ใส่น้ำยาเคมี ปิดฝาให้สนิท
  7. ปิดก๊อกน้ำยาเคมี และก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
  8. ตรวจสอบสายสะพายให้เรียบร้อย

การเตรียมความพร้อมในการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควัน
  1. ตรวจสอบหัวเทียนว่ามีไฟหรือไม่  โดยวิธีถอดหัวเทียนออกมาจากเครื่อง  แล้วเสียบปลั๊กหัวเทียนแตะกับบริเวณที่เป็นโลหะ  กดปุ่มสตาร์ท กรณีที่เป็นเครื่องพ่นสวิงฟอกซ์  สำหรับเครื่องพ่นพัลส์ฟอกซ์ หรือเครื่องพ่นไอจีบา  ให้สูบลมกระบอกสูบ  จะทำให้มีกระไฟวิ่งผ่านหัวเทียน  หากไม่มีกระแสไฟวิ่งผ่าน  หรือกระแสไฟไม่แรงให้ทำความสะอาดเขี้ยวหัวเทียน แต่หากพบว่าไม่มีกระแสไฟให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ปกติเขี้ยวหัวเทียนจะห่างประมาณ 2 มิลลิเมตร หรือเท่ากับความหนาของเหรียญบาท
  2. ตรวจสอบว่ามีถ่านไฟฉายในรังถ่านหรือไม่   และถ่านมีไฟหรือไม่
  3. ใส่น้ำมันเชื้อเพลิงในถังน้ำมันให้มีช่องว่างพอประมาณหรือ 3/4 ของถัง เพื่อให้มีอากาศสำหรับระบบการไหลเวียนน้ำมันเชื้อเพลิง  ส่วนใหญ่เครื่องพ่นหมอกควันจะใช้น้ำมันเบนซิน 91และหากน้ำมันเบนซินค้างอยู่ในเครื่องพ่นนานหลายเดือนควรเททิ้งเนื่องจากค่าอ๊อกเทนของน้ำมันจะเหลือน้อยทำให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด
  4. ตรวจสอบว่าหัวพ่นอุดตันหรือไม่
  5. ตรวจสอบแผ่นไดอะแฟรมว่าอยู่ในสภาพดีหรือชำรุด  หากชำรุดควรเปลี่ยนใหม่  ไม่ควรใช้วัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน  เนื่องจากวัสดุนั้นจะไม่สามารถทนความร้อนได้  จะทำให้เกิดการละลายเมื่อเครื่องพ่นทำงานไปได้สักพักหนึ่ง
  6. ใส่น้ำยาเคมี ปิดฝาให้สนิท
  7. ปิดก๊อกน้ำยาเคมี และก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
  8. ตรวจสอบสายสะพายให้เรียบร้อย
การติดเครื่องพ่นหมอกควัน
  1. สูบลมกระบอกสูบเบาๆ 4-5 ครั้ง  เพื่อให้มีแรงดันในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
  2. เปิดก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิงโดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาให้สุดและสูบลมจนกว่าเครื่องจะติดสำหรับเครื่องพ่นสวิงฟอก จะต้องกดปุ่มสตาร์ทด้วย
  3. เมื่อเครื่องติดแล้ว ปล่อยให้เครื่องทำงาน 1- 2 นาที เพื่อให้เครื่องร้อน  ควรฟังเสียงเครื่องว่าดังสม่ำเสมอหรือไม่  หากเสียงไม่สม่ำเสมอให้ปรับอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง
  4. เปิดก๊อกน้ำยาเคมีหลังจากพ่นสารเคมีนาน 40 นาที  ควรพักเครื่องประมาณ 10-15 นาทีขณะที่พักทีมงานควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิง  และน้ำยาเคมีให้พร้อมที่จะใช้ทำงานต่อไป

การปิดเครื่องพ่นหมอกควัน
  1. ปิดก๊อกน้ำยาเคมี ปล่อยให้เครื่องพ่นทำงานต่อไป  จนกระทั่งหมอกควันหายไปจากปลายท่อพ่นจึงปิดก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
  2. คลายฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิง  เพื่อปล่อยความดันในถังออกมา
  3. คลายฝาถังน้ำยาเคมี เพื่อปล่อยความดันในถังออกมา
  4. หากเครื่องพ่นดับอย่างกะทันหันจะมีไฟลุกที่ปลายท่อพ่น ให้ปิดก๊อกน้ำยาเคมี  แล้วสูบลมกระบอกสูบ เพื่อให้เกิดแรงลมเป่าน้ำยาเคมีออกมา  สูบลมจนไม่มีเปลวไฟ  แล้วจึงปิดเครื่องหรือหากเกิดไฟลุกไหม้ที่เครื่องพ่นให้ใช้ผ้าหนาๆ คลุมทับให้ไปดับ อย่าตกใจแล้วโยนเครื่องพ่นทิ้ง เพราะจะทำให้เครื่องพ่นเสียหายได้

เทคนิคการพ่นหมอกควัน
  1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเพื่อความร่วมมือในการพ่นสารเคมี หากมีอาหารอยู่ในบ้านควรปิดให้เรียบร้อย  หรือหากมีสัตว์เลี้ยงควรนำไปเลี้ยงที่อื่นขณะที่ทำการพ่นสารเคมี
  2. ควรปิดหน้าต่างบ้านทุกบาน  เปิดเพียงประตูทางเข้า 1 แห่ง  หากเป็นบ้าน 2-3 ชั้นควรพ่นชั้นบนสุดก่อน   เมื่อทำการพ่นสารเคมีเสร็จแล้วให้ปิดประตูอบหมอกควันทิ้งไว้ 15-20 นาที
  3. การพ่นให้เดินเข้าไปด้านในสุดของบ้าน ปลายท่อพ่นอยู่ห่างจากฝาบ้าน 2-3 เมตร และควรให้ท่อพ่นเอียงต่ำลง 45 องศา เปิดก๊อกน้ำเคมี พร้อมส่ายปลายท่อเป็นมุม180 องศา เดินถอยหลังช้าๆ จนถึงประตูที่เปิดไว้เมื่อเห็นว่าควันเต็มห้องแล้ว จึงปิดก๊อกน้ำยาปิดประตูอบหมอกควันทิ้งไว้ 15-20 นาที
  4. เวลาที่ปฏิบัติงานพ่นสารเคมี หากต้องการควบคุมยุงลายควรทำการพ่นในเวลากลางวัน แต่ถ้าหากต้องการพ่นสารเคมีควบคุมยุงรำคาญ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบควรทำการพ่นในเวลาหัวค่ำ
  5. ควรทำการพ่นบ้านผู้ป่วยและบริเวณรอบๆ และพ่นบ้านที่อยู่ใกล้เคียง รัศมีห่างจากบ้านผู้ป่วย 100 เมตร ทำการพ่น 2-4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์  พร้อมดำเนินการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วย
  6. หลังจากที่ทำการพ่นสารเคมี 1 สัปดาห์ ควรประเมินความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายเพื่อเปรียบเทียบความชุกชุมก่อนและหลังการพ่นสารเคมีควบคุมโรค กำหนดให้ทำการสุ่มสำรวจบ้าน 40 หลังคาเรือน  ประเมินผลโดยใช้ร้อยละของหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ(House index)หรือ HI.
การทดสอบขนาดเม็ดน้ำยาเคมี (Equipment for Vector Control)

        เมื่อปีพ..2507องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ระบุว่าการพ่นสารเคมีแบบฟุ้งกระจายในอากาศ   (Space spray) เพื่อควบคุมแมลงบินพาหะนำโรคนั้น  ควรมีขนาดเม็ดน้ำยาเล็กกว่า100 ไมครอน  เนื่องจากละอองน้ำยา จะสามารถลอยฟุ้งกระจายอยู่ในบรรยากาศได้นานพอที่แมลงบินเป้าหมายจะมีโอกาสบินมาสัมผัสสารที่พ่น  และในกรณีที่ทำการพ่นโดยใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง ปริมาณน้อยให้คลุมพื้นที่มาก หรือที่เรียกว่าการพ่นแบบฝอยละเอียด Ultra Low Volume)หรือ ULV. เม็ดน้ำยาจะมีขนาด 27 ไมครอน ต่อมาในปี พ..2537  Pan American Health Organizationหรือ PAHO  กำหนดว่าการพ่นฝอยละเอียดที่ต้องการให้เม็ดน้ำยาลอยฟุ้งอยู่ในอากาศได้ดี เม็ดน้ำยาควรมีขนาด 5 -27 ไมครอน
   องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานการคำนวณหาค่าเฉลี่ยเม็ดน้ำยาว่า Volume Median Diameter หรือ VDM.หมายถึง ค่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดน้ำยาที่สมมุติขึ้นว่า ปริมาณน้ำยาที่เครื่องพ่นออกมาครึ่งหนึ่งจะแตกตัวเป็นเม็ดน้ำยาที่มีขนาดเล็กกว่าค่า VDM. และอีกครึ่งของปริมาณน้ำยาจะแตกตัวเป็นเม็ดน้ำยาที่มีขนาดใหญ่กว่าค่า VDM.
เมื่อนำเครื่องพ่นสารเคมีมาตรวจหาค่า VDM. แล้วพบว่าจำนวนละอองเม็ดน้ำยามีขนาดเล็กกว่าค่า VDM.  มีประมาณร้อยละ 85  ของจำนวนเม็ดน้ำยาที่เครื่องพ่นออกมาตัวอย่างเช่น  เครื่องพ่นหมอกควันชนิดหนึ่งทดสอบพบว่าค่า VDM. เท่ากับ 30 ไมครอน  แสดงว่า ร้อยละ 85 ของละอองเม็ดน้ำยาที่เครื่องพ่นออกมามีขนาดเล็กกว่า 30 ไมครอน และร้อยละ 15 มีขนาดละอองน้ำยามากกว่า 30 ไมครอน



อุปกรณ์ที่ใช้ในการหาขนาดเม็ดน้ำยา หรือ ค่า VDM. 
  1. ประกอบด้วยแผ่นสไลด์
  2. กล้องจุลทรรศน์ ขนาดกำลังขยาย 10 x 10
  3. Slide micrometer ขนาด 1-100 ไมครอน
  4. แผ่นตรวจขนาดเม็ดน้ำยา Graticule ) ติดในกล้องจุลทรรศน์ที่เลนส์ใกล้ตา Graticule )
  5. ลวดแมกนีเซี่ยม

ขั้นตอนการเตรียมแผ่นสไลด์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างเม็ดน้ำยา ได้แก่
  1. จัดเตรียมแผ่นสไลด์ 4 แผ่น  ทำความสะอาด
  2. ตัดลวดแมกนีเซี่ยมยาว 4 นิ้ว
  3. จุดไฟที่ลวดแมกนีเซี่ยมจะทำให้เกิดควันขึ้นมานำควันไปรมที่ใต้แผ่นสไลด์ไอของลวดแมกนีเซี่ยมจะติดที่แผ่นสไลด์ เฉลี่ยพื้นที่แผ่นละ 2 ตารางนิ้ว
  4. ติดสัญลักษณ์แสดงเครื่องพ่นที่จะเก็บตัวอย่าง
วิธีการเก็บตัวอย่างเม็ดน้ำยา
  1. เตรียมเครื่องพ่นสารเคมีให้พร้อมที่จะใช้งาน
  2. ติดเครื่องพ่น  ปล่อยให้ทำงาน 2-3 นาที  จนเครื่องมีการทำงานที่สม่ำเสมอ
  3. เปิดก๊อกน้ำยา พ่นสารเคมีตามมาตรฐานการใช้เครื่องพ่น
  4. นำแผ่นสไลด์ที่เคลือบแมกนีเซี่ยมไปสัมผัสละอองน้ำยาในระยะห่าง 6 ฟุต หรือ 1.8 เมตร                 โดยโบกสไลด์ผ่านกลุ่มน้ำยาเพียง 1 ครั้ง
  5. ควรเก็บตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง  ต่อการทดลอง 1 ครั้ง


การเตรียมกล้องจุลทรรศน์
  1. เตรียมกล้องจุลทรรศน์ขนาดกำลังขยาย เลนส์ใกล้ตา Eye piece ) เท่ากับ 10 และเลนส์                ใกล้วัตถุ Objective ) เท่ากับ 10
  2. นำแผ่นสไลด์ Graticule ใส่ใน Eye piece
  3. นำ Slide micrometer วางบนแท่นตรวจกล้องจุลทรรศน์  ตรวจสอบว่าขนาดเม็ดน้ำยาที่                 แสดงใน Graticule  ถูกต้องตามขนาดจริงโดยเทียบกับ Slide micrometer  หากไม่                ถูกต้องให้ปรับตัวเลขให้มีขนาดที่ถูกต้อง
การตรวจหาค่าเม็ดน้ำยา
  1. นำสไลด์ที่เก็บตัวอย่างเม็ดน้ำยาไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  2. นับจำนวนเม็ดน้ำยา  และขนาดลงในแผ่นเก็บข้อมูล  ซึ่งแสดงขนาดตาม Graticule ที่ใช้    ตรวจควรนับเม็ดน้ำยาให้ได้มากกว่า 200 เม็ด
  3. นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่า VDM.
  4. สร้างแผนภูมิเพื่อหาขนาด VDM. ที่ถูกต้อง

การบำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควัน

เครื่องพ่นหมอกควันเป็นครุภัณฑ์ที่มีราคาแพง ระบบการทำงานของเครื่องพ่นประกอบด้วยข้อต่อ และท่อทำให้อุดตันได้ง่าย  ประกอบกับบางครั้งเครื่องจะถูกยืมไปใช้  หากผู้ใช้ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องที่ถูกต้องจะทำให้เครื่องพ่นชำรุดเสียหายได้ง่าย  ดังนั้นผู้ที่ใช้เครื่องพ่นควรมีการบำรุงรักษาเครื่องพ่นเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน  คุ้มค่ากับงบประมาณที่จัดซื้อ วิธีการบำรุงรักษามีดังนี้
  1. เมื่อเสร็จงานในแต่ละวันควรทำงานสะอาดเครื่องพ่น ไม่ให้คราบน้ำยาทำให้ความเสียหายชิ้นส่วนต่าง ๆ
  2. ล้างถังน้ำยาด้วยน้ำสะอาดและเมื่อหมดฤดูกาลใช้เครื่องพ่นแล้วไม่ควรปล่อยน้ำยาค้างในถัง  เพราะน้ำยาจะตกตะกอน  ทำให้เกิดการอุดตันที่ท่อพ่น หรือหัวพ่นได้
  3. ล้างท่อพ่น และหัวพ่นโดยการเติมน้ำสะอาด ติดเครื่องแล้วเปิดก๊อกน้ำยาเพื่อให้น้ำล้างท่อและหัวพ่น
  4. ถอดแผ่นไดอะแฟรมมาทำความสะอาด  เช็ดให้แห้ง  แล้วใส่กลับเหมือนเดิม
  5. ทำความสะอาดท่อพ่น  โดยใช้แปรงทองเหลืองขัดถูตะกันที่ปลายท่อทุก 3 เดือน
  6. ทำความสะอาดหัวเทียน
  7. หากไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ ควรนำถ่านไฟฉายออกมาจากรังถ่าน  หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการบวม และกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ


ปัญหาที่มักพบในการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน
1.เครื่องไม่ติดวิธีการแก้ไข
  • ตรวจสอบระบบไฟ โดยทดสอบว่าหัวเทียนมีไฟหรือไม่
  • ตรวจสอบถ่านไฟฉายที่อยู่ในรังใต้เครื่อง
  • ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ควรเติมให้เกือบเต็มประมาณ ¾ของถังน้ำมันเชื้อเพลิงใช้น้ำมันเบนซิน 91หากน้ำมันเชื้อเพลิงตกค้างอยู่ในถังนานแล้ว  ควรเททิ้ง เนื่องจากจะมีค่าอ๊อกเทนต่ำ
  • ตรวจสอบระบบน้ำมันเชื้อเพลิงโดยการถอดแผ่นไดอะแฟรมเปิดฝาถังน้ำมันสูบหลายๆครั้งสังเกตการดูดของน้ำมันภายในตัวคาร์บิวเรเตอร์ถ้าไม่เห็นน้ำมันให้ถอดลิ้นควบคุมน้ำมันแล้วทำความสะอาด 
2. เครื่องติด แต่ทำงานไม่ปกติ หรือติดแล้วดับ  วิธีแก้ไข
  • ปรับปุ่มปรับอากาศและน้ำมันจนเสียงเครื่องดังปกติไม่สะดุดวิธีการปรับปุ่มปรับอากาศหากหมุนตามเข็มนาฬิกา อากาศจะเข้ามากขึ้น  และหากหมุนทวนเข็มนาฬิกาอากาศจะเข้าน้อยลง
  • หากเครื่องทำงานอ่อนลงเกิดจากมีเขม่าเกาะจับภายในท่อพ่นและที่ Swirl vane แก้ไขโดยใช้แปรงทองเหลืองทำความสะอาดที่ปลายท่อพ่นและให้คลาย Swirl vane ออกมาทำความสะอาดด้วยแปรงทองเหลือง แล้วใส่เข้าไปเหมือนเดิม
3. เครื่องไม่ปล่อยหมอกควัน หรือปล่อยหมอกควันน้อย  วิธีแก้ไข
  • ตรวจสอบฝาถังน้ำยาว่าผิดแน่นหรือไม่
  • ตรวจสอบสายน้ำยา Solution pipe ) ว่าอุดตันหรือไม่
  • ตรวจสอบว่า Solution socket อุดตันหรือไม่
  • ตรวจสอบว่าหัวพ่น Solution nozzle ) อุดตันหรือไม่
  • ตรวจสอบว่าก๊อกน้ำยา Solution tap ) อุดตันหรือไม่ 
4. หากเครื่องพ่นเสียหรือชำรุดจะดำเนินการอย่างไร วิธีแก้ไข
  • หากเครื่องพ่นเสียหรือชำรุดไม่มากนักสามารถติดต่อสอบถามการซ่อมได้ที่ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ นำโดยแมลง(ศตม.)หรือหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง(นคม.) หากเครื่องพ่นเสียไม่มากนักจะแก้ไขให้ทันที แต่หากเป็นอะไหล่ที่มีราคาสูงจะประสานบริษัทเพื่อจัดซื้ออะไหล่มาซ่อมบำรุงให้   หรือแจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายมาทำการซ่อมบำรุงต่อไป
5. การเสื่อมสภาพของสารเคมี ปัญหาสำคัญของเครื่องพ่นหมอกควันแบบใช้ความร้อนได้แก่ การสลายตัวของสารเคมีเนื่องจากความร้อน  ซึ่งอาจเกิดจากคุณสมบัติของสารเคมีเองหรือเกิดจากเครื่องพ่นเคมีที่ให้ความร้อนสูงเกินไป โดยปกติเครื่องพ่นหมอกควันที่มีคุณภาพดีควรสามารถควบคุมอุณหภูมิ ณ จุดหรือบริเวณที่นำยาสัมผัสความร้อนและแตกตัวให้บริเวณนี้มีอุณหภูมิระดับที่ไม่ทำลายคุณภาพของสารเคมีควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสซึ่งผู้ใช้เครื่องพ่นสามารถทำการทดสอบได้โดยการใช้น้ำแทนสารเคมีหากเครื่องพ่นใดพ่นน้ำออกมามาเป็นละอองโดยสมบูรณ์หรือเป็นไอแสดงว่า อุณหภูมิจุดนั้นสูงเกินจุดเดือนน้ำ หรือมากกว่า 100 องศาเซลเซียส ดังนั้นโอกาสที่ความร้อนนี้จะทำให้คุณภาพสารเคมีถูกทำลายคุณภาพย่อมมีมากแต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและคุณสมบัติของสารเคมีนั้น  นอกจากนั้นสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ในเครื่องพ่นหมอกควันมักจะมีความเข้มข้นต่ำมากๆจึงย่อมมีโอกาสลดคุณภาพการพ่นสารเคมีลงได้มาก


3. เครื่องพ่นฝอยละเอียด (Ultra Low Volume) หรือ ULV.


เครื่องพ่นฝอยละเอียด เป็นเครื่องพ่นที่ใช้หลักการทำงาน โดยใช้ลมแรงทำให้น้ำยาเคมีที่มีความเข้มข้นสูงแตกตัวฟุ้งกระจายไปในอากาศ เม็ดน้ำยามีขนาดเล็กกว่า50 ไมครอนขนาดเม็ดน้ำยาที่ดีที่สุดควรเป็น5-27ไมครอน(องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าเครื่องพ่นฝอยละเอียดที่ผลิตเม็ดน้ำยาที่มีคุณภาพสูงสุด กล่าวคือ มีค่า VMD (Volume Median Diameter)เท่ากับ 27 ไมครอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ) เมื่อเม็ดน้ำยาสัมผัสยุงจะทำให้ยุงตายเครื่องพ่นฝอยละเอียดสามารถใช้ได้กับงานทางด้านการเกษตรและด้านการสาธารณสุข  สำหรับทางสาธารณสุขส่วนใหญ่นำมาใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก,ไข้มาลาเรีย,โรคเท้าช้างและไข้สมองอักเสบ เป็นต้น  วัตถุประสงค์การพ่นฝอยละเอียดเพื่อหยุดยั้งการแพร่เชื้อโรคอย่างฉับพลัน  เพื่อตัดวงจรการเกิดโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นๆ

ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตเครื่องพ่นฝอยละเอียดได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี  เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการทำงาน  ดังนั้น  ในปัจจุบันนอกจากจะมีเครื่องพ่นฝอยละเอียดที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นพลังงานแล้ว  ยังมีเครื่องพ่นที่ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ และไฟฟ้าเป็นพลังงานอีกด้วย


เครื่องพ่นฝอยละเอียดใช้เครื่องยนต์เบนวิน2จังหวะ กำลังเครื่องไม่ต่ำกว่า1.5 แรงม้าซึ่งเป็นขนาดเครื่องยนต์ที่ให้กำลังน้อยที่สุด  แต่มีประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน และใช้งานได้นานในรอบเครื่องยนต์ที่สูง ๆ  และไม่ควรใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกในการทำงาน

1 ความคิดเห็น: