วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รายงานสรุประบบบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ 2553


1. วิเคราะห์ข้อมูล ปี 2553           
1.1 จำนวนการรายงานอุบัติการณ์ในปี 2553สูงกว่าปี2552 แต่มีแนวโน้มลดลงจากปี 50-51( ตารางที่ 2-4และแผนภูมิที่2-3)โดยจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากในประเภทความเสี่ยงทางคลินิค ได้แก่การชี้บ่งสิ่งส่งตรวจผิดพลาดเนื่องจากการกระตุ้นให้มีรายงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้สะท้อนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรมซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดของหน่วยงาน จำนวนอุบัติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสูงกว่าปี52 เกือบ 2เท่า ส่วนประเภทอื่นๆมีแนวโน้มลดลง
1.2  ความครอบคลุมของหน่วยงานที่รายงาน พิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง31หน่วยงานคิดเป็นร้อยละ100เป็นการรายงานโดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเองร้อยละ 41ของอุบัติการณ์ทั้งหมดซึ่งแสดงว่าหน่วยงานมีความตระหนักในการรายงาน
1.3 ระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์ E-I มีแนวโน้มจำนวนลดลง และถ้าเปรียบเทียบกับรายงานทั้งหมดสัดส่วนลดลง ในปี 2551 มีอุบัติการณ์ E-I รวม 131ครั้งคิดเป็น 18.1% ในปี2552มี 114 ครั้งคิดเป็น 26.4% ในปี255มี 92ครั้งคิดเป็น 14.7% สะท้อนถึงประสิทธิภาพของการป้องกันความเสี่ยง(ตารางที่ 4 แผนภูมิที่4)
1.4  อุบัติการณ์รุนแรงส่วนใหญ่เป็นอุบัติการณ์ทางคลินิกซึ่งถ้าแยกประเภทแล้วมีแนวโน้มลดลงทุกเรื่องยกเว้น เรื่องภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรมมีการรายงานมากขึ้น แต่ถ้าคิดเป็นสัดส่วนต่อผู้รับบริการทันตกรรมที่มีการรักษาด้วยหัตถการแล้วจะพบน้อยมากและมีแนวโน้มลดลงคือร้อยละ 0.81,0.59 ,0.64ในปี51,52,53ตามลำดับ(ตารางที่10-11)มีอุบัติกาณ์การเสียชีวิตโดยไม่คาด1ครั้ง วิเคราะห์ caseในตารางหน้าที่  8
1.5  การวิเคราะห์สาเหตุเบื้องต้นของอุบัติการณ์ส่วนมากเกิดจากเจ้าหน้าที่และ กระบวนการทำงาน  ร้อยละ 47.5 และ 28.8 ตามลำดับอุบัติการณ์ระดับ ขึ้นไปมีการระบุสาเหตุรากประมาณ52%( 48ครั้งจาก92ครั้ง)ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก การออกแบบระบบงาน สมรรถนะเจ้าหน้าที่และการนิเทศควบคุมกำกับ คิดเป็นร้อยละ 36,20,15 ตามลำดับส่วนที่ไม่ได้ระบุสาเหตุราก เป็นภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรม dry socket การติดเชื้อ ที่ทบทวนแล้วไม่สามารถระบุสาเหตุรากได้ (แผนภูมิที่15 -16 )
1.6 จำนวนอุบัติการณ์ทางคลินิกรุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำ E-I 23 ครั้ง (เคยเกิดในปี51-52)
1) ประเมินคัดกรองผิดพลาด case SEPSIS 1  ครั้ง
2) วินิจฉัยรักษาผิดพลาด ล่าช้า
a) Severe  HT,  Headache 3  ครั้ง
b)  Acute MI 1 ครั้ง
c)  Appendicitis 5 ครั้ง
3) การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ แผลผ่าตัด ครั้ง
4) Birth trauma Erb’ s palsy 1ครั้ง
5) ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวน 4 ครั้ง
6) Phlebitis ครั้ง
7) pneumothorax จากการเจาะปอด 1 ครั้ง
2. การจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ มีการทบทวนความเสี่ยงเพื่อนำไปแก้ไข ป้องกัน  ระดับทีมประสาน เช่น
2.1  ทีมกรรมการสิ่งแวดล้อมและเครื่องมือ  การป้องกันโจรกรรม ลักขโมย มีปรับระบบการเดินตรวจพื้นที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติมในจุดเสี่ยงจัดหาตู้เก็บของส่วนตัวให้เจ้าหน้าที่ การประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ทุกคนเรื่องมาตรการป้องกันทรัพย์สินของตนเองและของโรงพยาบาล และจะลงโทษทางวินัยถ้าพบว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำความผิด  ซึ่งในปี2553มีการเลิกจ้าง 1 ราย มีการเปลี่ยนสายไฟmainที่มีอายุการใช้งานนานและจัดทำแผนลดความเสียหายจากระบบสำรองไฟฟ้าขัดข้องหรือเกิดการงดจ่ายไฟจากภายนอกเป็นเวลานาน
2.2 ทีมกรรมการสารสนเทศและเวชระเบียน จัดทำแนวทางการป้องกันข้อมูลเสียหายและแผนฉุกเฉินระบบปฏิบัติการHOSxPเปลี่ยนSERVERให้มีสมรรถนะสูงขึ้น ทำให้ไม่เกิดอุบัติการณ์ โปรแกรมขัดข้อง มีการพัฒนาระบบข้อมูลการตรวจสอบสิทธิการรักษาและแนวทางปฏิบัติ กรณีที่ต้องเรียกเก็บเงินจากผู้รับบริการ ทำให้อุบัติการณ์การลงสิทธิผิดพลาดและผู้ป่วยไมได้ชำระเงินลดลงทั้งจำนวนและความรุนแรง (ตารางที่ 6แผนภูมิที่ 7)
2.3 ทีมกรรมการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
2.3.1 การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม  ปี 25502552 มีการรายงานน้อย ไม่รุนแรงแต่ในปี 2553 มีการรายงานน้อยแต่พบว่ามีการระบาดเกิดขึ้น แหล่งของการระบาดมาจากอาหารในโรงพยาบาลของเจ้าหน้าที่(ไม่พบผู้ป่วยท้องเสีย) ในช่วงเดือนมิ.ย.2553 พบว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งกินอาหารกลางวันของโรงพยาบาลมีอาการท้องเสียพร้อมกันหลายรายจากการสอบสวนพบว่าสาแหตุที่เป็นไปได้คือ การจัดเตรียมอาหารไม่ได้คุณภาพ (ขนุนใส่ทับทิมกรอบ)มีเจ้าหน้าที่งานบริการอาหารท้องเสียก่อนเกิดเหตุและอยู่เวรทำอาหาร มาตรการความเสี่ยง ทบทวนแนวทางการจัดเตรียมอาหารและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  กำหนดให้รายงาน การเจ็บป่วยโรคทางเดินอาหารของเจ้าหน้าที่ในงานบริการอาหาร
2.3.2 ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลัก IC เป็นหมวดที่เชื่อว่ามีการรายงานต่ำกว่าความเป็นจริงแต่ก็พบว่ามีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ การรายงานความเสี่ยงในประเด็นเหล่านี้ยังต้องการการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ประเด็นสำคัญที่พบ
(1)การแยกประเภทผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เกิดจากการขาดความรู้จึงได้กำหนดเป็นหัวข้อที่สำคัญในการอบรม IC ประจำปีให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน
(2) ทิ้งขยะผิด/ไม่เหมาะสม การใช้เครื่องป้องกันไม่เหมาะสม เป็นปัญหาที่พบบ่อยแต่การรายงานน้อยเพราะเป็นรายงานเชิงป้องกัน คนที่พบจึงไม่ได้ใส่ใจรายงาน เน้นการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย IC round
(3) อุปกรณ์ปนกับผ้าส่งซักมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2552 มีการทบทวนร่วมกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ในปี 2553 อุบัติการณ์ลดลง
2.3.3 การติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี 2550 -2553 1.5/1,000 วันนอน,1.33/1,000 วันนอน,1.43/1,000 วันนอน,1.34/1,000 วันนอนตามลำดับ ในช่วงปี 2550-2252 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อดี เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับการรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาลมากขึ้น รวมทั้งมีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและโรคเรื้อรังในการดูแลเพิ่มขึ้น การทำหัตถการต่างๆที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น(ตารางและแผนภูมิที่ 14)
ปัญหาด้านการป้องกันการติดเชื้อที่สำคัญคือ  การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวน และการเกิดอุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
1)  การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด มีแนวโน้มดีขึ้น แม้ระหว่างปี 50-51 มีแนวโน้มเพิ่ม จาก 0.8% เป็น 2.1% เนื่องจากปี 2551 มีผ่าตัดหูจากชมรมโรคหูชนบทและผ่าตัดตาจากรพ.บ้านแพ้ว มีการทำผ่าตัดในวันเดียวกันจำนวนมาก ต้องการใช้อุปกรณ์เร่งด่วน ทำให้การควบคุมคุณภาพเครื่องมือและการใช้ห้องผ่าตัดไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร
2) การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวน อัตราการติดเชื้อมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบระหว่างปี 2552 กับ2553 จำนวนครั้งของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่อัตราการติดเชื้อลดลงเพราะจำนวนวันผู้ป่วยใส่สายสวนเพิ่มขึ้นสาเหตุรากเกิดจากตัวผู้ป่วยที่สุขอนามัยไม่ดีและเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานมีความเข้า ใจวิธีปฏิบัติไม่ตรงกัน  การแก้ปัญหาจึงปรับระบบการจัดการและคู่มือการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจนขึ้นเพิ่มความเข้มงวดในการนิเทศและสร้างความตระหนักในกระบวนการใส่/การดูแลสายสวน
3) การติดเชื้อที่แผล Episiotomy  การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ไม่สัมพันธ์กับการใส่สายสวน พบน้อยความถี่ต่ำ ไม่รุนแรง
        2.3.4 Sharp injury สาเหตุที่ชัดแจ้ง คือเทคนิคไม่เหมาะสม เครื่องป้องกันไม่เหมาะสมทิ้งขยะผิดประเภท ทำให้ผู้อื่นเกิดอุบัติเหตุ  ทำหัตถการที่ต้องเพิ่มความระมัดระวัง คิดเป็นร้อยละ 50 , 23,13.5,13.5 ตามลำดับ
         กลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุ 95%เป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมากกว่า1 ปี และป็นนักศึกษาฝึกงาน 1ครั้ง และ 91%ของอุบัติการณ์สามารถป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุและมีความตระหนักในการป้องกันตนเอง มีเพียง 9%เท่านั้นที่เป็นอุบัติเหตุอันเกินความคาดหมาย  มาตรการความเสี่ยงที่สำคัญคือการสนับสนุนจัดหาเครื่องป้องกันให้เพียงพอ พร้อมใช้ และการนิเทศควบคุมกำกับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น