วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การพ่นหมอกควันควบคุมยุงลาย

ช่วงบ่ายวันนี้ ทีมระบาดวิทยาของของโรงพยาบาลดำเนินการการพ่นหมอกควัน เนื่องจากมีรายงานพบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก ปกติโรงพยาบาลจะมีการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายและยุงรำคาญอยู่แล้วอยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีรายงานการพบผู้ป่วยก็จะมีการดำเนินการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลายพร้อมทั้งพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ตามแนวทางของการควบคุมโรค..

การพ่นหมอกควันแต่ละครั้งนอกจากผลในทางจิตวิทยาแล้ว ผมมีคำถามในใจว่าหวังผลการในกำจัดยุงลายตัวแก่ด้วยจริงๆหรือเปล่า ที่ตั้งคำถามแบบนี้ เพราะดูจากวิธีที่เจ้าหน้าที่พ่นหมอกควันไม่น่าจะถูกต้องตามหลักวิชาการมากนัก ซึ่งการพ่นหมอกควัน(Fogging )ถ้าผมจำไม่ผิดมีเทคนิคที่ต้องเรียนรู้ตั้งแต่การใช้เครื่อง การผสมน้ำยา การพ่น แม้กระทั่งเวลาที่ใช้ กลุ่มยุงเป้าหมายที่ต้องการทำลายเป็นยุงลาย หรือว่ายุงรำคาญ ฯลฯ มากพอสมควรที่จะทำให้การพ่นและครั้งได้ผลในการกำจัดยุงตัวแก่ เลยลองมาเปิดตำราทบทวนความรู้เกี่ยวกับการพ่นหมอกควันที่ถูกต้อง มีข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการพ่นหมอกควันที่น่าสนใจอย่างนี้ครับ..

  1. ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเพื่อความร่วมมือในการพ่นสารเคมี หากมีอาหารอยู่ในบ้านควรปิดให้เรียบร้อย หรือหากมีสัตว์เลี้ยงควรนำไปเลี้ยงที่อื่นขณะที่ทำการพ่นสารเคมี
  2. ควรปิดหน้าต่างบ้านทุกบาน เปิดเพียงประตูทางเข้า 1 แห่ง หากเป็นบ้าน 2-3 ชั้นควรพ่นชั้นบนสุดก่อน เมื่อทำการพ่นสารเคมีเสร็จแล้วให้ปิดประตูอบหมอกควันทิ้งไว้ 15-20 นาที
  3. การพ่นให้เดินเข้าไปด้านในสุดของบ้าน ปลายท่อพ่นอยู่ห่างจากฝาบ้าน 2-3 เมตร และควรให้ท่อพ่นเอียงต่ำลง 45 องศา เปิดก๊อกน้ำเคมี พร้อมส่ายปลายท่อเป็นมุม180 องศา เดินถอยหลังช้าๆ จนถึงประตูที่เปิดไว้เมื่อเห็นว่าควันเต็มห้องแล้ว จึงปิดก๊อกน้ำยาปิดประตูอบหมอกควันทิ้งไว้ 15-20 นาที
  4. เวลาที่ปฏิบัติงานพ่นสารเคมี หากต้องการควบคุมยุงลายควรทำการพ่นในเวลากลางวัน แต่ถ้าหากต้องการพ่นสารเคมีควบคุมยุงรำคาญ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบควรทำการพ่นในเวลาหัวค่ำ
  5. ควรทำการพ่นบ้านผู้ป่วยและบริเวณรอบๆ และพ่นบ้านที่อยู่ใกล้เคียง รัศมีห่างจากบ้านผู้ป่วย 100 เมตร ทำการพ่น 2-4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ พร้อมดำเนินการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วย หลังจากที่ทำการพ่นสารเคมี 1 สัปดาห์
  6. ควรประเมินความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายเพื่อเปรียบเทียบความชุกชุมก่อนและหลังการพ่นสารเคมีควบคุมโรค กำหนดให้ทำการสุ่มสำรวจบ้าน 40 หลังคาเรือน ประเมินผลโดยใช้ร้อยละของหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ(House index)หรือ HI.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น