เครื่องพ่นสารเคมี
เครื่องพ่นสารเคมีทางสาธารณสุขที่นิยมใช้ในการป้องควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่
1.เครื่องพ่นเคมีชนิดอัดลม ( Hand compression sprayer )
เป็นเครื่องพ่นสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันควบคุมไข้มาลาเรีย เมื่อทำการพ่นสารเคมีออกไปละอองสารเคมี ( Droplets ) จะไปเกาะติดที่พื้นผิววัตถุที่ต้องการ และมีฤทธิ์ตกค้างระยะเวลาหนึ่ง หรือที่เรียกว่า การพ่นสารเคมีชนิดตกค้าง ( Residual spray ) เมื่อยุงก้นปล่องบินมาเกาะพักที่พื้นผิวทำให้สัมผัสสารเคมี ๆ จะเข้าไปในตัวยุง และทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ระบบประสาทส่วนกลางของยุง และตายในที่สุด สารเคมีมีฤทธิ์ตกค้างนาน 6 เดือน แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาสารเคมีให้มีฤทธิ์ตกค้างนาน 1 ปี
2. เครื่องพ่นหมอกควัน ( Fogging machine หรือ Thermal fog generator)
เป็นเครื่องพ่นที่ใช้ความร้อนทำให้น้ำยาเคมีแตกตัวเป็นละออง อุณหภูมิที่ใช้สูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสารตัวทำละลายที่มีจุดเดือด หรือจุดระเหิด ( Boiling point หรือ Evaporating point ) ซึ่งมักนิยมใช้สารตัวทำละลายที่มีอุณหภูมิสูง 100 องศาเซลเซียส เพราะถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะมีผลในการทำลายคุณภาพของสารเคมีซึ่งมักจะมีความเข้มข้นต่ำ สารตัวทำละลายที่นิยมใช้ ได้แก่ น้ำมันดีเซล เมื่อสารเคมีแตกตัวจะถูกแรงลมเป่าทำให้ฟุ้งกระจายในรูปหมอกควัน ขนาดเม็ดน้ำยา( Droplets )มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10- 60 ไมครอน ( micron )
เครื่องพ่นหมอกควันจะใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงในการทำงานของเครื่อง ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่ 1.4 - 2 ลิตร อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1.5 – 2 ลิตร / ชั่วโมง กำลังทำงานเครื่องพ่น 24-25 แรงม้าหรือ15,000 -16,100 กิโลแคลอรี่ / ชั่วโมง การจุดระเบิดใช้พลังงานจากถ่านไฟฉาย ขนาด 1.5 โวลท์ จำนวน 4 ก้อน ต่อแบบอนุกรม และมีคอยล์จุดระเบิดสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ อัตราการไหลของน้ำยา ตั้งแต่ 8 - 30 ลิตร/ชั่วโมงแล้วแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวพ่น ถังใส่น้ำยาเคมีมีทั้งชนิดที่เป็นโลหะ และพลาสติค มีความจุ ตั้งแต่ 5 - 6.5 ลิตร น้ำหนักเครื่องพ่นเปล่า 7- 8 กิโลกรัม หากรวมน้ำหนักน้ำยาเคมีจะมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม
ชนิดเครื่องพ่นหมอกควัน ( Fogging ) ปัจจุบันเครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้ในงานสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. เครื่องพ่นหมอกควันชนิดสะพายไหล่ อาทิเช่น
1.1 เครื่องพ่นหมอกควันสวิงฟ็อก (Swingfog) รุ่น SN -11 , SN -50 และ SN -50 N
1.2 เครื่องพ่นหมอกควันพัลฟ็อก ( Pulpfog ) รุ่น KP-10 SP
1.3 เครื่องพ่นหมอกควันไอจีบ้า ( Igeba ) รุ่น TF -30 และ TF- 35
1.4 เครื่องพ่นหมอกควันซุปเปอร์ฮอค ( Superhawk )
1.5 เครื่องพ่นหมอกควัน เอส เอส ฟ็อก ( SS fog )
1.6 เครื่องพ่นหมอกควันโกลเด็นฟ็อก ( Goldenfog )
2. เครื่องพ่นหมอควันชนิดติดตั้งบนรถยนต์ อาทิเช่น
2. เครื่องพ่นหมอควันชนิดติดตั้งบนรถยนต์ อาทิเช่น
2.1 เครื่องพ่นหมอกควันสวิงฟ็อก รุ่น SN-101
2.2 เครื่องพ่นหมอกควันพัลฟ็อก รุ่น K-22 /10 BIO
2.3 เครื่องพ่นหมอกควัน IZ 400 ( Auto )
การเตรียมความพร้อมในการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควัน
- ตรวจสอบหัวเทียนว่ามีไฟหรือไม่ โดยวิธีถอดหัวเทียนออกมาจากเครื่อง แล้วเสียบปลั๊กหัวเทียนแตะกับบริเวณที่เป็นโลหะ กดปุ่มสตาร์ท กรณีที่เป็นเครื่องพ่นสวิงฟอกซ์ สำหรับเครื่องพ่นพัลส์ฟอกซ์ หรือเครื่องพ่นไอจีบา ให้สูบลมกระบอกสูบ จะทำให้มีกระไฟวิ่งผ่านหัวเทียน หากไม่มีกระแสไฟวิ่งผ่าน หรือกระแสไฟไม่แรงให้ทำความสะอาดเขี้ยวหัวเทียน แต่หากพบว่าไม่มีกระแสไฟให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ปกติเขี้ยวหัวเทียนจะห่างประมาณ 2 มิลลิเมตร หรือเท่ากับความหนาของเหรียญบาท
- ตรวจสอบว่ามีถ่านไฟฉายในรังถ่านหรือไม่ และถ่านมีไฟหรือไม่
- ใส่น้ำมันเชื้อเพลิงในถังน้ำมันให้มีช่องว่างพอประมาณ หรือ 3 / 4 ของถัง เพื่อให้มีอากาศสำหรับระบบการไหลเวียนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนใหญ่เครื่องพ่นหมอกควันจะใช้น้ำมันเบนซิน 91 และหากน้ำมันเบนซินค้างอยู่ในเครื่องพ่นนานหลายเดือน ควรเททิ้ง เนื่องจากค่าอ๊อกเทนของน้ำมันจะเหลือน้อย ทำให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด
- ตรวจสอบว่าหัวพ่นอุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบแผ่นไดอะแฟรมว่าอยู่ในสภาพดีหรือชำรุด หากชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรใช้วัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน เนื่องจากวัสดุนั้นจะไม่สามารถทนความร้อนได้ จะทำให้เกิดการละลายเมื่อเครื่องพ่นทำงานไปได้สักพักหนึ่ง
- ใส่น้ำยาเคมี ปิดฝาให้สนิท
- ปิดก๊อกน้ำยาเคมี และก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตรวจสอบสายสะพายให้เรียบร้อย
การเตรียมความพร้อมในการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควัน
- ตรวจสอบหัวเทียนว่ามีไฟหรือไม่ โดยวิธีถอดหัวเทียนออกมาจากเครื่อง แล้วเสียบปลั๊กหัวเทียนแตะกับบริเวณที่เป็นโลหะ กดปุ่มสตาร์ท กรณีที่เป็นเครื่องพ่นสวิงฟอกซ์ สำหรับเครื่องพ่นพัลส์ฟอกซ์ หรือเครื่องพ่นไอจีบา ให้สูบลมกระบอกสูบ จะทำให้มีกระไฟวิ่งผ่านหัวเทียน หากไม่มีกระแสไฟวิ่งผ่าน หรือกระแสไฟไม่แรงให้ทำความสะอาดเขี้ยวหัวเทียน แต่หากพบว่าไม่มีกระแสไฟให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ปกติเขี้ยวหัวเทียนจะห่างประมาณ 2 มิลลิเมตร หรือเท่ากับความหนาของเหรียญบาท
- ตรวจสอบว่ามีถ่านไฟฉายในรังถ่านหรือไม่ และถ่านมีไฟหรือไม่
- ใส่น้ำมันเชื้อเพลิงในถังน้ำมันให้มีช่องว่างพอประมาณหรือ 3/4 ของถัง เพื่อให้มีอากาศสำหรับระบบการไหลเวียนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนใหญ่เครื่องพ่นหมอกควันจะใช้น้ำมันเบนซิน 91และหากน้ำมันเบนซินค้างอยู่ในเครื่องพ่นนานหลายเดือนควรเททิ้งเนื่องจากค่าอ๊อกเทนของน้ำมันจะเหลือน้อยทำให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด
- ตรวจสอบว่าหัวพ่นอุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบแผ่นไดอะแฟรมว่าอยู่ในสภาพดีหรือชำรุด หากชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรใช้วัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน เนื่องจากวัสดุนั้นจะไม่สามารถทนความร้อนได้ จะทำให้เกิดการละลายเมื่อเครื่องพ่นทำงานไปได้สักพักหนึ่ง
- ใส่น้ำยาเคมี ปิดฝาให้สนิท
- ปิดก๊อกน้ำยาเคมี และก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตรวจสอบสายสะพายให้เรียบร้อย
การติดเครื่องพ่นหมอกควัน
- สูบลมกระบอกสูบเบาๆ 4-5 ครั้ง เพื่อให้มีแรงดันในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
- เปิดก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิงโดยหมุนทวนเข็มนาฬิกาให้สุดและสูบลมจนกว่าเครื่องจะติดสำหรับเครื่องพ่นสวิงฟอก จะต้องกดปุ่มสตาร์ทด้วย
- เมื่อเครื่องติดแล้ว ปล่อยให้เครื่องทำงาน 1- 2 นาที เพื่อให้เครื่องร้อน ควรฟังเสียงเครื่องว่าดังสม่ำเสมอหรือไม่ หากเสียงไม่สม่ำเสมอให้ปรับอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง
- เปิดก๊อกน้ำยาเคมีหลังจากพ่นสารเคมีนาน 40 นาที ควรพักเครื่องประมาณ 10-15 นาทีขณะที่พักทีมงานควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำยาเคมีให้พร้อมที่จะใช้ทำงานต่อไป
การปิดเครื่องพ่นหมอกควัน
- ปิดก๊อกน้ำยาเคมี ปล่อยให้เครื่องพ่นทำงานต่อไป จนกระทั่งหมอกควันหายไปจากปลายท่อพ่นจึงปิดก๊อกน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลายฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อปล่อยความดันในถังออกมา
- คลายฝาถังน้ำยาเคมี เพื่อปล่อยความดันในถังออกมา
- หากเครื่องพ่นดับอย่างกะทันหันจะมีไฟลุกที่ปลายท่อพ่น ให้ปิดก๊อกน้ำยาเคมี แล้วสูบลมกระบอกสูบ เพื่อให้เกิดแรงลมเป่าน้ำยาเคมีออกมา สูบลมจนไม่มีเปลวไฟ แล้วจึงปิดเครื่องหรือหากเกิดไฟลุกไหม้ที่เครื่องพ่นให้ใช้ผ้าหนาๆ คลุมทับให้ไปดับ อย่าตกใจแล้วโยนเครื่องพ่นทิ้ง เพราะจะทำให้เครื่องพ่นเสียหายได้
เทคนิคการพ่นหมอกควัน
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเพื่อความร่วมมือในการพ่นสารเคมี หากมีอาหารอยู่ในบ้านควรปิดให้เรียบร้อย หรือหากมีสัตว์เลี้ยงควรนำไปเลี้ยงที่อื่นขณะที่ทำการพ่นสารเคมี
- ควรปิดหน้าต่างบ้านทุกบาน เปิดเพียงประตูทางเข้า 1 แห่ง หากเป็นบ้าน 2-3 ชั้นควรพ่นชั้นบนสุดก่อน เมื่อทำการพ่นสารเคมีเสร็จแล้วให้ปิดประตูอบหมอกควันทิ้งไว้ 15-20 นาที
- การพ่นให้เดินเข้าไปด้านในสุดของบ้าน ปลายท่อพ่นอยู่ห่างจากฝาบ้าน 2-3 เมตร และควรให้ท่อพ่นเอียงต่ำลง 45 องศา เปิดก๊อกน้ำเคมี พร้อมส่ายปลายท่อเป็นมุม180 องศา เดินถอยหลังช้าๆ จนถึงประตูที่เปิดไว้เมื่อเห็นว่าควันเต็มห้องแล้ว จึงปิดก๊อกน้ำยาปิดประตูอบหมอกควันทิ้งไว้ 15-20 นาที
- เวลาที่ปฏิบัติงานพ่นสารเคมี หากต้องการควบคุมยุงลายควรทำการพ่นในเวลากลางวัน แต่ถ้าหากต้องการพ่นสารเคมีควบคุมยุงรำคาญ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบควรทำการพ่นในเวลาหัวค่ำ
- ควรทำการพ่นบ้านผู้ป่วยและบริเวณรอบๆ และพ่นบ้านที่อยู่ใกล้เคียง รัศมีห่างจากบ้านผู้ป่วย 100 เมตร ทำการพ่น 2-4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ พร้อมดำเนินการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วย
- หลังจากที่ทำการพ่นสารเคมี 1 สัปดาห์ ควรประเมินความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายเพื่อเปรียบเทียบความชุกชุมก่อนและหลังการพ่นสารเคมีควบคุมโรค กำหนดให้ทำการสุ่มสำรวจบ้าน 40 หลังคาเรือน ประเมินผลโดยใช้ร้อยละของหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ(House index)หรือ HI.
การทดสอบขนาดเม็ดน้ำยาเคมี (Equipment for Vector Control)
เมื่อปีพ.ศ.2507องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ระบุว่าการพ่นสารเคมีแบบฟุ้งกระจายในอากาศ (Space spray) เพื่อควบคุมแมลงบินพาหะนำโรคนั้น ควรมีขนาดเม็ดน้ำยาเล็กกว่า100 ไมครอน เนื่องจากละอองน้ำยา จะสามารถลอยฟุ้งกระจายอยู่ในบรรยากาศได้นานพอที่แมลงบินเป้าหมายจะมีโอกาสบินมาสัมผัสสารที่พ่น และในกรณีที่ทำการพ่นโดยใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง ปริมาณน้อยให้คลุมพื้นที่มาก หรือที่เรียกว่าการพ่นแบบฝอยละเอียด Ultra Low Volume)หรือ ULV. เม็ดน้ำยาจะมีขนาด 27 ไมครอน ต่อมาในปี พ.ศ.2537 Pan American Health Organizationหรือ PAHO กำหนดว่าการพ่นฝอยละเอียดที่ต้องการให้เม็ดน้ำยาลอยฟุ้งอยู่ในอากาศได้ดี เม็ดน้ำยาควรมีขนาด 5 -27 ไมครอน
องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานการคำนวณหาค่าเฉลี่ยเม็ดน้ำยาว่า Volume Median Diameter หรือ VDM.หมายถึง ค่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดน้ำยาที่สมมุติขึ้นว่า ปริมาณน้ำยาที่เครื่องพ่นออกมาครึ่งหนึ่งจะแตกตัวเป็นเม็ดน้ำยาที่มีขนาดเล็กกว่าค่า VDM. และอีกครึ่งของปริมาณน้ำยาจะแตกตัวเป็นเม็ดน้ำยาที่มีขนาดใหญ่กว่าค่า VDM.
เมื่อนำเครื่องพ่นสารเคมีมาตรวจหาค่า VDM. แล้วพบว่าจำนวนละอองเม็ดน้ำยามีขนาดเล็กกว่าค่า VDM. มีประมาณร้อยละ 85 ของจำนวนเม็ดน้ำยาที่เครื่องพ่นออกมาตัวอย่างเช่น เครื่องพ่นหมอกควันชนิดหนึ่งทดสอบพบว่าค่า VDM. เท่ากับ 30 ไมครอน แสดงว่า ร้อยละ 85 ของละอองเม็ดน้ำยาที่เครื่องพ่นออกมามีขนาดเล็กกว่า 30 ไมครอน และร้อยละ 15 มีขนาดละอองน้ำยามากกว่า 30 ไมครอน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการหาขนาดเม็ดน้ำยา หรือ ค่า VDM.
- ประกอบด้วยแผ่นสไลด์
- กล้องจุลทรรศน์ ขนาดกำลังขยาย 10 x 10
- Slide micrometer ขนาด 1-100 ไมครอน
- แผ่นตรวจขนาดเม็ดน้ำยา ( Graticule ) ติดในกล้องจุลทรรศน์ที่เลนส์ใกล้ตา ( Graticule )
- ลวดแมกนีเซี่ยม
ขั้นตอนการเตรียมแผ่นสไลด์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างเม็ดน้ำยา ได้แก่
- จัดเตรียมแผ่นสไลด์ 4 แผ่น ทำความสะอาด
- ตัดลวดแมกนีเซี่ยมยาว 4 นิ้ว
- จุดไฟที่ลวดแมกนีเซี่ยมจะทำให้เกิดควันขึ้นมานำควันไปรมที่ใต้แผ่นสไลด์ไอของลวดแมกนีเซี่ยมจะติดที่แผ่นสไลด์ เฉลี่ยพื้นที่แผ่นละ 2 ตารางนิ้ว
- ติดสัญลักษณ์แสดงเครื่องพ่นที่จะเก็บตัวอย่าง
วิธีการเก็บตัวอย่างเม็ดน้ำยา
- เตรียมเครื่องพ่นสารเคมีให้พร้อมที่จะใช้งาน
- ติดเครื่องพ่น ปล่อยให้ทำงาน 2-3 นาที จนเครื่องมีการทำงานที่สม่ำเสมอ
- เปิดก๊อกน้ำยา พ่นสารเคมีตามมาตรฐานการใช้เครื่องพ่น
- นำแผ่นสไลด์ที่เคลือบแมกนีเซี่ยมไปสัมผัสละอองน้ำยาในระยะห่าง 6 ฟุต หรือ 1.8 เมตร โดยโบกสไลด์ผ่านกลุ่มน้ำยาเพียง 1 ครั้ง
- ควรเก็บตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง ต่อการทดลอง 1 ครั้ง
การเตรียมกล้องจุลทรรศน์
- เตรียมกล้องจุลทรรศน์ขนาดกำลังขยาย เลนส์ใกล้ตา ( Eye piece ) เท่ากับ 10 และเลนส์ ใกล้วัตถุ ( Objective ) เท่ากับ 10
- นำแผ่นสไลด์ Graticule ใส่ใน Eye piece
- นำ Slide micrometer วางบนแท่นตรวจกล้องจุลทรรศน์ ตรวจสอบว่าขนาดเม็ดน้ำยาที่ แสดงใน Graticule ถูกต้องตามขนาดจริงโดยเทียบกับ Slide micrometer หากไม่ ถูกต้องให้ปรับตัวเลขให้มีขนาดที่ถูกต้อง
การตรวจหาค่าเม็ดน้ำยา
- นำสไลด์ที่เก็บตัวอย่างเม็ดน้ำยาไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
- นับจำนวนเม็ดน้ำยา และขนาดลงในแผ่นเก็บข้อมูล ซึ่งแสดงขนาดตาม Graticule ที่ใช้ ตรวจควรนับเม็ดน้ำยาให้ได้มากกว่า 200 เม็ด
- นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่า VDM.
- สร้างแผนภูมิเพื่อหาขนาด VDM. ที่ถูกต้อง
การบำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควัน
เครื่องพ่นหมอกควันเป็นครุภัณฑ์ที่มีราคาแพง ระบบการทำงานของเครื่องพ่นประกอบด้วยข้อต่อ และท่อทำให้อุดตันได้ง่าย ประกอบกับบางครั้งเครื่องจะถูกยืมไปใช้ หากผู้ใช้ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องที่ถูกต้องจะทำให้เครื่องพ่นชำรุดเสียหายได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่ใช้เครื่องพ่นควรมีการบำรุงรักษาเครื่องพ่นเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน คุ้มค่ากับงบประมาณที่จัดซื้อ วิธีการบำรุงรักษามีดังนี้
- เมื่อเสร็จงานในแต่ละวันควรทำงานสะอาดเครื่องพ่น ไม่ให้คราบน้ำยาทำให้ความเสียหายชิ้นส่วนต่าง ๆ
- ล้างถังน้ำยาด้วยน้ำสะอาดและเมื่อหมดฤดูกาลใช้เครื่องพ่นแล้วไม่ควรปล่อยน้ำยาค้างในถัง เพราะน้ำยาจะตกตะกอน ทำให้เกิดการอุดตันที่ท่อพ่น หรือหัวพ่นได้
- ล้างท่อพ่น และหัวพ่นโดยการเติมน้ำสะอาด ติดเครื่องแล้วเปิดก๊อกน้ำยาเพื่อให้น้ำล้างท่อและหัวพ่น
- ถอดแผ่นไดอะแฟรมมาทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วใส่กลับเหมือนเดิม
- ทำความสะอาดท่อพ่น โดยใช้แปรงทองเหลืองขัดถูตะกันที่ปลายท่อทุก 3 เดือน
- ทำความสะอาดหัวเทียน
- หากไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ ควรนำถ่านไฟฉายออกมาจากรังถ่าน หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการบวม และกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ
ปัญหาที่มักพบในการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน
1.เครื่องไม่ติดวิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบระบบไฟ โดยทดสอบว่าหัวเทียนมีไฟหรือไม่
- ตรวจสอบถ่านไฟฉายที่อยู่ในรังใต้เครื่อง
- ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิง ควรเติมให้เกือบเต็มประมาณ ¾ของถังน้ำมันเชื้อเพลิงใช้น้ำมันเบนซิน 91หากน้ำมันเชื้อเพลิงตกค้างอยู่ในถังนานแล้ว ควรเททิ้ง เนื่องจากจะมีค่าอ๊อกเทนต่ำ
- ตรวจสอบระบบน้ำมันเชื้อเพลิงโดยการถอดแผ่นไดอะแฟรมเปิดฝาถังน้ำมันสูบหลายๆครั้งสังเกตการดูดของน้ำมันภายในตัวคาร์บิวเรเตอร์ถ้าไม่เห็นน้ำมันให้ถอดลิ้นควบคุมน้ำมันแล้วทำความสะอาด
2. เครื่องติด แต่ทำงานไม่ปกติ หรือติดแล้วดับ วิธีแก้ไข
- ปรับปุ่มปรับอากาศและน้ำมันจนเสียงเครื่องดังปกติไม่สะดุดวิธีการปรับปุ่มปรับอากาศหากหมุนตามเข็มนาฬิกา อากาศจะเข้ามากขึ้น และหากหมุนทวนเข็มนาฬิกาอากาศจะเข้าน้อยลง
- หากเครื่องทำงานอ่อนลงเกิดจากมีเขม่าเกาะจับภายในท่อพ่นและที่ Swirl vane แก้ไขโดยใช้แปรงทองเหลืองทำความสะอาดที่ปลายท่อพ่นและให้คลาย Swirl vane ออกมาทำความสะอาดด้วยแปรงทองเหลือง แล้วใส่เข้าไปเหมือนเดิม
3. เครื่องไม่ปล่อยหมอกควัน หรือปล่อยหมอกควันน้อย วิธีแก้ไข
- ตรวจสอบฝาถังน้ำยาว่าผิดแน่นหรือไม่
- ตรวจสอบสายน้ำยา ( Solution pipe ) ว่าอุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบว่า Solution socket อุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบว่าหัวพ่น ( Solution nozzle ) อุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบว่าก๊อกน้ำยา ( Solution tap ) อุดตันหรือไม่
4. หากเครื่องพ่นเสียหรือชำรุดจะดำเนินการอย่างไร วิธีแก้ไข
- หากเครื่องพ่นเสียหรือชำรุดไม่มากนักสามารถติดต่อสอบถามการซ่อมได้ที่ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ นำโดยแมลง(ศตม.)หรือหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง(นคม.) หากเครื่องพ่นเสียไม่มากนักจะแก้ไขให้ทันที แต่หากเป็นอะไหล่ที่มีราคาสูงจะประสานบริษัทเพื่อจัดซื้ออะไหล่มาซ่อมบำรุงให้ หรือแจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายมาทำการซ่อมบำรุงต่อไป
5. การเสื่อมสภาพของสารเคมี ปัญหาสำคัญของเครื่องพ่นหมอกควันแบบใช้ความร้อนได้แก่ การสลายตัวของสารเคมีเนื่องจากความร้อน ซึ่งอาจเกิดจากคุณสมบัติของสารเคมีเองหรือเกิดจากเครื่องพ่นเคมีที่ให้ความร้อนสูงเกินไป โดยปกติเครื่องพ่นหมอกควันที่มีคุณภาพดีควรสามารถควบคุมอุณหภูมิ ณ จุดหรือบริเวณที่นำยาสัมผัสความร้อนและแตกตัวให้บริเวณนี้มีอุณหภูมิระดับที่ไม่ทำลายคุณภาพของสารเคมีควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสซึ่งผู้ใช้เครื่องพ่นสามารถทำการทดสอบได้โดยการใช้น้ำแทนสารเคมีหากเครื่องพ่นใดพ่นน้ำออกมามาเป็นละอองโดยสมบูรณ์หรือเป็นไอแสดงว่า อุณหภูมิจุดนั้นสูงเกินจุดเดือนน้ำ หรือมากกว่า 100 องศาเซลเซียส ดังนั้นโอกาสที่ความร้อนนี้จะทำให้คุณภาพสารเคมีถูกทำลายคุณภาพย่อมมีมากแต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและคุณสมบัติของสารเคมีนั้น นอกจากนั้นสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ในเครื่องพ่นหมอกควันมักจะมีความเข้มข้นต่ำมากๆจึงย่อมมีโอกาสลดคุณภาพการพ่นสารเคมีลงได้มาก
3. เครื่องพ่นฝอยละเอียด (Ultra Low Volume) หรือ ULV.
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตเครื่องพ่นฝอยละเอียดได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการทำงาน ดังนั้น ในปัจจุบันนอกจากจะมีเครื่องพ่นฝอยละเอียดที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นพลังงานแล้ว ยังมีเครื่องพ่นที่ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ และไฟฟ้าเป็นพลังงานอีกด้วย
เครื่องพ่นฝอยละเอียดใช้เครื่องยนต์เบนซิน2จังหวะ กำลังเครื่องไม่ต่ำกว่า1.5 แรงม้าซึ่งเป็นขนาดเครื่องยนต์ที่ให้กำลังน้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน และใช้งานได้นานในรอบเครื่องยนต์ที่สูง ๆ และไม่ควรใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกในการทำงาน
3. เครื่องพ่นฝอยละเอียด (Ultra Low Volume) หรือ ULV.
เครื่องพ่นฝอยละเอียด เป็นเครื่องพ่นที่ใช้หลักการทำงาน โดยใช้ลมแรงทำให้น้ำยาเคมีที่มีความเข้มข้นสูงแตกตัวฟุ้งกระจายไปในอากาศ เม็ดน้ำยามีขนาดเล็กกว่า50 ไมครอนขนาดเม็ดน้ำยาที่ดีที่สุดควรเป็น5-27ไมครอน(องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าเครื่องพ่นฝอยละเอียดที่ผลิตเม็ดน้ำยาที่มีคุณภาพสูงสุด กล่าวคือ มีค่า VMD (Volume Median Diameter)เท่ากับ 27 ไมครอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ) เมื่อเม็ดน้ำยาสัมผัสยุงจะทำให้ยุงตายเครื่องพ่นฝอยละเอียดสามารถใช้ได้กับงานทางด้านการเกษตรและด้านการสาธารณสุข สำหรับทางสาธารณสุขส่วนใหญ่นำมาใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก,ไข้มาลาเรีย,โรคเท้าช้างและไข้สมองอักเสบ เป็นต้น วัตถุประสงค์การพ่นฝอยละเอียดเพื่อหยุดยั้งการแพร่เชื้อโรคอย่างฉับพลัน เพื่อตัดวงจรการเกิดโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นๆ
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตเครื่องพ่นฝอยละเอียดได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการทำงาน ดังนั้น ในปัจจุบันนอกจากจะมีเครื่องพ่นฝอยละเอียดที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นพลังงานแล้ว ยังมีเครื่องพ่นที่ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ และไฟฟ้าเป็นพลังงานอีกด้วย
เครื่องพ่นฝอยละเอียดใช้เครื่องยนต์เบนซิน2จังหวะ กำลังเครื่องไม่ต่ำกว่า1.5 แรงม้าซึ่งเป็นขนาดเครื่องยนต์ที่ให้กำลังน้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมัน และใช้งานได้นานในรอบเครื่องยนต์ที่สูง ๆ และไม่ควรใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกในการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น