๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓
สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ได้ทวีความรุนแรงสูงมากขึ้นเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการมีทัศนคติและพฤติกรรมเบี่ยงเบน เหินห่างศาสนามีค่านิยมแบบบริโภคนิยมอย่างฟุ่มเฟือย การทะเลาะวิวาท ติดยาเสพติด การเสพสื่อลามกอนาจาร ติดเกม ฯลฯ ซึ่งปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และขาดความรู้ความเข้าใจในการคุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่มีแนวโน้มรุนแรงและหนักหน่วงจนน่าตกใจ ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของสื่อที่ไม่เหมาะสมหรือลามกอนาจารผ่านทางสื่อแต่ละประเภท จนทำให้เด็กและเยาวชนไทยซึ่งขาดภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อ มีการเลียนแบบพฤติกรรมและนำไปสู่ปัญหาดังกล่าว
ปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจัยหนึ่ง มาจากความไม่สมดุลของครอบครัว เนื่องจากครอบครัวจำนวนไม่น้อย ขาดความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษา จึงไม่สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับบุตรหลานได้อย่างเหมาะสม สำหรับบางครอบครัวได้ผลักภาระหน้าที่การให้ความรู้ด้านเพศศึกษาไปให้แก่ครู อาจารย์ หรือผู้อื่นสอนแทน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีทัศนคติว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอับอาย ต้องปกปิดไม่สมควรพูดอย่างเปิดเผย หรือเข้าใจว่าการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่ลูกหลานในครอบครัวอาจเป็นดาบสองคม นอกจากนั้น การไม่มีเวลาดูแลพูดคุยให้คำแนะนำปรึกษากับลูกหลาน เพราะห่วงเรื่องเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพเป็นหลัก
(งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การให้ความรู้หรือคำแนะนำที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษานั้น ผู้ปกครองในครอบครัวสามารถให้ความรู้กับลูกหลานได้ใกล้ชิดกว่าคนอื่น และเด็กจะเชื่อฟังมากกว่า
เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรหรือยังไม่พร้อมนั้น ปัญหาในส่วนอื่นๆ ย่อมตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเสียอนาคตที่ดีในชีวิตของทั้งฝ่ายชายและหญิง ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาการทำแท้ง การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเลี้ยงลูกที่ไม่ถูกวิธีเพราะตัวพ่อแม่เด็กเอง ไม่มีวุฒิภาวะในการอบรมเลี้ยงดู การทอดทิ้งลูกให้เป็นลูกกำพร้า ซึ่งเด็กที่ถูกทอดทิ้งเหล่านั้น ล้วนมีความเปราะบางทางสภาพติดใจ และอาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมที่ไม่สามารถคลายปมให้หลุดได้
"จากผลการศึกษาสถิติด้านสาธารณสุขพบว่า ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๒ วัยรุ่นมีการตั้งครรภ์ก่อนวัย เพิ่มขึ้นจาก ๑๐% มาเป็น ๔๐% และจากการสำรวจ ในช่วง ๗ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๕๐ พบว่า ช่วงอายุการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีแนวโน้มลดลงด้วย โดยพบว่าเด็กอายุ ๑๐ ปี มีการตั้งครรภ์สูงถึง ๖๐ คน และเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี คลอดบุตรจำนวน ๕๕,๖๔๘ คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สำรวจเฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น"
การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของเด็กและเยาวชน ถือเป็นปัญหาใหญ่และเป็นเรื่องหนักใจของทั้งคุณพ่อคุณแม่ของเด็ก และรวมถึงตัวเด็กเอง เพราะโดยปกติแล้ว "เด็กวัยรุ่นในช่วงอายุ ๑๐-๒๐ ปี ยังไม่พร้อมต่อการเป็นพ่อแม่คน ทั้งทางด้านเสถียรภาพทางการเงิน และวุฒิภาวะทางอารมณ์ ตลอดจนการดูแลรับผิดชอบหรือการอบรมเลี้ยงดู" ซึ่งนักวิชาการด้านสาธารณสุขและนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นหลายท่าน ได้นำเสนอวิธีการป้องกันไม่ให้วัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ดังนี้
๑.การให้ความรู้ กล่าวคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความรู้ในเรื่องเพศศึกษากับลูกอย่าถือเป็นเรื่องน่าอายและปกปิดไว้ ลูกอาจเรียนรู้ในห้องเรียนมาบ้าง แต่คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ใกล้ชิด และเข้าใจลูกมากกว่า จึงทำให้การสอน การพูดคุย ตลอดจนให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งวิธีการเริ่มต้นที่ดีและง่ายที่สุด คือ "คุณพ่อคุณแม่ควรหาจังหวะเวลาที่เหมาะสม ชักชวนลูกพูดคุยหรือเปิดประเด็นสนทนาโดยการสอบถามลูกว่าทราบเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากน้อยขนาดไหน" เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจและรู้ว่าลูกมีความเข้าใจอยู่ในขั้นไหนแล้วก็ให้เสริมความรู้ต่อจากที่ลูกมี บอกลูกถึงข้อพึงระวังตัว การแต่งกายและการวางตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้าม รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย สภาพจิตใจอันเป็นผลจากฮอร์โมนเพศและความต้องการทางเพศของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องน่าละอาย และยากต่อการพูดคุย แต่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกในเรื่องนี้โดยพยายามทำให้เป็นเรื่องปกติธรรมดา ค่อยๆ พูดทีละเล็กทีละน้อย เพราะจะช่วยให้ลูกเกิดความเข้าใจ เชื่อและยอมรับได้มากกว่าการอธิบายทุกอย่างในครั้งเดียว อีกทั้งยังทำให้ลูกรู้สึกชินว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ อีกทั้งไม่รู้สึกกระอักกระอ่วนใจอีกด้วย
๒.การคุมกำเนิด
วิธีการคุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีมากมายหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และเหมาะสมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ "อาจหาจังหวะเวลาหรือโอกาสที่เหมาะสมให้ลูก ได้มีโอกาสสอบถามพูดคุยกับหมอหรือผู้ที่มีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจถึงลักษณะที่แตกต่างกันของการคุมกำเนิดในแต่ละวิธี เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การใช้ยาคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด หรือการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ฯลฯ"
๓.การจัดกฎระเบียบหรือกติกาภายในครอบครัว
"การดูแลให้มีผู้ใหญ่อยู่ด้วยในเวลาที่มีการจัดงานเลี้ยงภายในบ้านหรือสถานที่ต่างๆ หรือการสร้างกฎกติกาให้ลูกโทรศัพท์กลับมาหาทุกครึ่งชั่วโมง หรือในวันเรียนหนังสือไม่อนุญาต ให้กลับบ้านเกิน ๓ ทุ่ม" เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แม้ลูกซึ่งเป็นวัยรุ่นอาจคิดว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของเขา แต่เป็นวิธีการที่จะช่วยลดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ได้อีกทางหนึ่ง
หลานห่างไกลจาก เป็นที่เข้าใจกันดีว่า "วัยรุ่นเป็นวัยที่เข้าใจยาก คึกคะนอง อยากลองผิดลองถูก ชอบแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสรเสรีในการดำเนินชีวิต และมีโลกส่วนตัวค่อนข้างสูง ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูกหรือบุคคลในครอบครัว การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็นอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน การแสดงความรักความเข้าใจ ห่วงหาอาทร หรือการสร้างความอบอุ่นระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว สิ่งเหล่านี้คือ ภูมิต้านทานที่สร้างได้ภายในครอบครัว และสามารถช่วยให้ลูกปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี"
สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในส่วนของภาครัฐ ชั่วโมงนี้คงไม่ใช่ภารกิจความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงเท่านั้น ล่าสุด นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติ อีกทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเด็กในทุกมิติ ซึ่งในการเปิดเวที “สิทธิเด็ก” ครั้งที่ ๒๐ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ณ ทำเนียบรัฐบาล นาย
เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ทำงานเชิงบูรณาการความร่วมมือจัดเวทีเสวนาเรื่อง “รักใสๆ ให้ปลอดภัยของวัยโจ๋” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นและร่วมกันหาแนวทางป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น อีกทั้งเป็นการสร้างกระแสให้สังคมได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นข้อเสนอที่ได้รับจากการระดมความคิดเห็นเหล่านั้น จะนำไปพัฒนาเพื่อ เป็นแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป
กล่าวโดยสรุป "การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของเด็กและเยาวชน ต้องเริ่มจากตัวเด็กเองที่ต้องพยายามขัดเกลาตัวเองให้มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมตามช่วงวัย รู้จักการยับยั้งชั่งใจและมีสติในการดำเนินชีวิต พ่อแม่บุคคลในครอบครัว หรือสังคมแวดล้อมต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและบ่มเพาะวุฒิภาวะให้แก่เด็กและเยาวชน" ในส่วนของภาครัฐ ต้องมีความจริงจังในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสื่อลามกหรือสื่อที่ล่อแหลม ไม่เหมาะสมที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อประเภทต่างๆ รวมถึงสถานที่ล่อแหลมทางเพศ หรือสิ่งยั่วยุพฤติกรรมทางเพศ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องปราบปรามจับกุมและลงโทษผู้กระทำความผิดโดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดจริงจังและต่อเนื่อง หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งขยายหรือเปิดพื้นที่สื่อดีให้กว้างขวางและแพร่หลายในสังคมไทยอีกทั้งเร่งปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้แก่เด็กและเยาวชน เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไทย ต่อไป
บทความจาก http://www.oknation.net/blog/jessada5577/2010/06/17/entry-5